ReadyPlanet.com


ปลาเหาฉลาม


 

เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ก็มีให้เลือกหลากหลายมากมาย ทั้งแบบให้ประโยชน์ร่วมกัน ภาวะพึ่งพา ภาวะปรสิต และมีอีกหนึ่งภาวะนั่นคือภาวะอิงอาศัย ที่มีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์เต็มๆ แต่อีกฝ่ายก็ไม่เสียอะไร อย่างเช่นในกรณีของ "เหาฉลาม" เป็นต้น เหาฉลาม เป็นปลาทะเลปลากระดูกแข็ง ลำตัวยาว หัวเรียวแหลม สามารถกลอกตาไปมาเพื่อมองสภาพแวดล้อมโดยรอบได้ ด้านบนของหัวแบนราบมีอวัยวะที่ใช้สำหรับดูดติด ซึ่งพัฒนามาจากครีบหลัง มีจำนวน 22–27 ซี่ มีความยาวประมาณ 1 ใน 4 ของความยาวลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร แม้เหาฉลามจะไม่เลวร้ายถึงขั้นปรสิต แต่มันก็ไม่จัดเป็นผู้อาศัยที่มีประโยชน์นัก เนื่องจากมันเป็นปลาที่ไม่ค่อยชอบว่ายน้ำเองสักเท่าไหร่ แต่ถนัดกับการเกาะติดไปกับฉลามหรือสัตว์ทะเลอื่น ๆ โดยใช้แผ่นดูดที่บนหัวยึดติดกับสัตว์ที่มันคิดว่าน่าจะพึ่งพาได้ ซึ่งช่วยให้พวกมันประหยัดพลังงานในการเดินทางไปได้เยอะ แต่กลายเป็นภาระของสัตว์อื่นที่จู่ ๆ ก็มีก้อนเนื้ออะไรสักอย่างมาเพิ่มแรงต้านกระแสน้ำซะงั้น

            ไม่เพียงจะเป็นผู้โดยสารที่ไม่ทำอะไรแล้ว เหาฉลามยังได้ประโยชน์จากการเกาะติดสัตว์อื่นในการเข้าถึงแหล่งอาหารแบบง่ายๆ ทั้งเศษอาหารที่ลอยฟุ้งออกมาจากปากฉลาม หรือการแวะไปตามแนวปะการังของเต่าทะเลที่เต็มไปด้วยปลาขนาดเล็ก และต่อให้ตกขบวนรถที่มันโดยสารมาด้วย เหาฉลามก็พร้อมหาสัตว์ตัวใหม่แบบไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น แถมสีสันของมันยังไปคล้ายกับปลาช่อนทะเลที่เป็นนักล่าขนาดใหญ่ จนทำให้สัตว์นักล่าอื่นไม่ค่อยอยากยุ่งกับมันด้วย

 

 

เหาฉลาม (Shark sucker)

            เหาฉลามมีอวัยวะคล้ายแผ่นดูดขนาดใหญ่อยู่บนหัว เรียกว่า “Sucking disc” ซึ่งพัฒนามาจากครีบหลังส่วนหน้า (First dorsal fin) ทำหน้าที่เป็นแผ่นดูดติดกับสัตว์อื่น ๆ พวกมันจะเกาะอยู่ตั้งแต่บริเวณผิวหนังภายนอกทั่วไป ครีบ จนถึงในช่องเหงือก แต่บางครั้งก็พบเหาฉลามว่ายน้ำแบบอิสระโดยไม่เกาะติดกับสัตว์อื่น

ความสัมพันธ์ระหว่างฉลามและเหาฉลาม

เป็นความสัมพันธ์ที่ได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย (Symbiosis relationship) เหาฉลามสามารถกินเศษอาหารที่เหลือจากฉลาม กินปรสิตบนผิวของพวกมัน และยังได้รับการคุ้มครองจากเหล่านักล่า ในทางกลับกัน ฉลามก็มีสุขภาพที่ดีเพราะเหาฉลามกำจัดปรสิตบนผิวหนังให้ และถึงแม้จะมีชื่อเรียกว่า เหาฉลาม แต่พวกมันก็ไม่ได้เกาะติดแค่กับฉลามเท่านั้น แต่ยังยังยึดตัวเองเข้ากับสัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ เช่น กระเบน ปลาขนาดใหญ่ เต่าทะเล วาฬ โลมา และรวมถึงมนุษย์ด้วยในบางครั้ง

ลักษณะทั่วไป

ลำตัวยาว หัวเรียว ด้านบนของหัวเรียบมีอวัยวะเกาะติดที่พัฒนามาจากครีบหลัง มีแถบสีดำขนาดใหญ่พาดตามลำตัว หลังและท้องมีสีเทาเข้ม มีลักษณะคล้ายปลาช่อนทะเล โตเต็มที่มีขาดประมาณ 60 เซนติเมตร

วงจรชีวิต

          ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดเกี่ยวกับวงจรชีวิตของเหาฉลาม

การสืบพันธุ์

การจับคู่ผสมพันธุ์อาจเกิดขึ้นบนตัวปลาที่เหาฉลามเกาะอยู่ ซึ่งยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเรื่องการผสมพันธุ์ของเหาฉลาม

อาหาร

          ได้รับอาหารจากเศษอาหารจากปลาที่มันเกาะติด โดยปล่อยตัวออกมากิน นอกจากนี้ยังกินแพลงก์ตอนสัตว์และโคพีพอดเป็นอาหาร

แหล่งที่อยู่

          ชอบเกาะติดอยู่กับสัตว์ใหญ่ เช่น ปลาฉลาม, กระเบนราหู หรือเต่าทะเล โดยใช้อวัยวะสำหรับดูดติด บางครั้งพบว่ายน้ำอยู่อิสระในแนวปะการัง

พบแพร่กระจายในเขตร้อนทั่วโลก และมีการแพร่กระจายกว้างที่สุด ในประเทศไทย พบได้ทั้งสองฝั่งทะเล แต่จะพบเห็นได้บ่อยบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน และกองหินลอเชลิว โดยมักเกาะอยู่กับฉลามวาฬ หรือกระเบนราหู ฝั่งอ่าวไทยพบบ้างบริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี



ผู้ตั้งกระทู้ กอไก่ :: วันที่ลงประกาศ 2021-08-24 11:55:21


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4442756)

 ปังสุด ๆ  รับประกันความชัวร์รองรับทุกระบบ

ผู้แสดงความคิดเห็น kara วันที่ตอบ 2021-08-29 01:28:14


ความคิดเห็นที่ 2 (4442757)

 อยากสนุก อยากเปิดประสบการณ์ใหม่ 

อย่างที่ไม่เคยมีมา สล็อตแตกง่าย
ผู้แสดงความคิดเห็น kara วันที่ตอบ 2021-08-29 01:28:38


ความคิดเห็นที่ 3 (4442758)

 ก็แค่มาหมุนมาโยกกับเรา บาทเดียวก็เล่นได้ 

ไม่เชื่อก็มาลองอย่ามัวแต่มองดิวัยรุ่นสร้างตัว  พนันบอล
ผู้แสดงความคิดเห็น kara วันที่ตอบ 2021-08-29 01:28:57


ความคิดเห็นที่ 4 (4442759)

 ความบันเทิงครบวงจร ไร้ขีดจำกัด เกมใหม่ และหลากหลายค่ายดัง 

ทำรายการด้วยระบบออโต้ ที่มั่นคง และรวดเร็วที่สุดในไทย สล็อตjoker 
ผู้แสดงความคิดเห็น kara วันที่ตอบ 2021-08-29 01:29:17


ความคิดเห็นที่ 5 (4442760)

 เว็บที่รวบรวมแจ็คพ็อตแตก  แห่งศตวรรธร่วมกันทำลายแจ็คพ็อตได้แล้ว 

ที่นี่ สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สล็อตpgแตกง่าย
ผู้แสดงความคิดเห็น kara วันที่ตอบ 2021-08-29 01:29:38


ความคิดเห็นที่ 6 (4467192)

 

“เหงือกบวม” อาการแบบไหน

ผู้แสดงความคิดเห็น เก่งกาจ วันที่ตอบ 2022-09-24 14:13:41



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.